การฟอกไตเป็นการล้างของเสียในร่างกายโดย ใช้เครื่องฟอกไตแทนไตที่เสียไปแล้ว การทำเส้นจะเป็น การทำให้ใส่เข็ม ล้างไตได้ง่ายขึ้น วิธีนี้เป็นวิธีดที่ี่สุดในกระบวนการล้างไต ท่านจะไม่จำเป็นต้องมีสายคาอยู่ที่ี่คอ หรือที่ขาเพื่อใช้ในการล้างไต นอกจาก จะไม่สะดวกแล้ว ยังเจ็บแผลและเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกด้วย
![]() |
ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดทำเส้น มีดังนี้ เกิดเลือดคั่งบริเวณที่ผ่าตัด ดังนั้นในระหว่างที่ท่านกลับไปอยู่บ้านแล้ว - เส้นที่ต่อไว้อาจอุดตันได้จากการมีก้อนเลือด |
เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ฝังใต้ผิวหนังสำหรับให้ยา สารน้ำ หรือเลือด นอกจากนี้ยังสามารถดูดเลือด จากพอร์ตเพื่อส่งตรวจได้อีกด้วย อุปกรณ์ชนิดนี้มีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับให้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง
ส่วนแรก คือ สายที่ใส่เข้าไปในหลอดเลือดดำ โดยส่วนมากมักจะใส่ที่หลอดเลือดบริเวณคอ หรือแขน ปลายสายจะสิ้นสุดที่ตำแหน่งทางเข้าสู่หัวใจ และส่วนที่สอง คือ พอร์ต มีลักษณะคล้ายตลับยาหม่องเป็นกระเปาะกลวง จะต่ออยู่กับสายที่ใส่เข้าไปในหลอดเลือด ถูกฝังอยู่ใต้ผิวหนัง เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับทำการแทงเข็มเพื่อให้ยาหรือสารละลายต่างๆ ไหลไปตามสายและเข้าสู่กระแสเลือด
พอร์ตทำจากวัสดุทนทานและไม่ระคายเคืองต่ออวัยวะมนุษย์ โดยพอร์ตที่ฝังอยู่จะสามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลานาน วัสดุที่นำมาใช้ทำพอร์ต ได้แก่ พลาสติก สแตนเลส ไททาเนียม และซิลิโคน จึงมีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรง ทนทานและยืดหยุ่นสูง ขนาดของพอร์ตที่ฝังขึ้นกับรูปร่างของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยที่มีรูปร่างผอมหรือเป็นเด็ก ควรเลือกพอร์ตที่มีขนาดเล็ก
อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ควบคู่กับพอร์ท คือเข็มชนิดพิเศษ ที่มีความแตกต่างกับเข็มทั่วไป คือ จะมีลักษณะโค้งงอบริเวณส่วนปลาย เพื่อทำให้พอร์ตไม่เกิดการรั่วซึมของยา ออกมา และสามารถแทงเข็มซ้ำได้หลายพันครั้ง
![]() |
ประโยชน์ของการฝังพอร์ต- ลดจำนวนครั้งการแทงเข็มผ่านทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย- สามารถให้ยาเคมีบำบัดได้ง่าย สะดวก และลดความเจ็บปวดใน การให้ยาผ่านทางหลอดเลือดดำ - สามารถให้การดูแลรักษาที่บ้านได้สะดวกขึ้น ไม่ทำให้เสียบุคลิก เนื่องจากพอร์ตถูกฝังอยู่ภายในร่างกาย ไม่มีสายระโยงระยาง ออกมา - ผู้ป่วยฝังพอร์ตสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ ตามปกติ - เหมาะกับผู้ป่วยเด็ก และผู้สูงอายุที่เจาะเลือดหาเส้นยาก เส้นเลือดแข็งเปราะแตกง่าย |
![]() |
- มีไข้หนาวสั่น - ปวดบริเวณที่ทำการฝังพอร์ต - มีอาการบวมบริเวณที่ทำการฝังพอร์ต - มีอาการแดง มีของเหลวไหลออกบริเวณแผลที่ทำการฝังพอร์ต - รู้สึกหายใจลำบาก |
![]() |
สาเหตุและปัจจัยการส่งเสริม1. กรรมพันธุ์2. น้ำหนักมากเกินไป หรือสตรีมีครรภ์ 3. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด 4. การอาบน้ำร้อนเป็นประจำ และการได้รับ 5. ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน 6. การสวมใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานๆ 7. การยืนหรือนั่งเป็นเวลานานๆ 8. การขาดการออกกำลังกาย |
“ผู้ป่วยท่อน้ำเหลืองอุดตันจะมีอาการเช่นไร” อันที่จริงผู้ป่วยที่มีอาการบวมจากท่อน้ำเหลือง มักจะไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากนัก แต่อาจมีความรู้สึกรำคาญเพราะแขนหรือขาบวม ผู้ป่วยบางรายอาจมีความรู้สึกแน่นที่แขนหรือขา จากน้ำหนักมากของ ผิวหนังตึง จนคนรอบข้างสังเกตได้ชัด ในบางรายมีอาการปวดเกิดจากเอ็นหรือกล้ามเนื้อรับน้ำหนักมากเกินไป
“แล้วจะดูแลร่างกายอย่างไร”
1. การดูแลผิวหนัง
อาการบวมจากท่อน้ำเหลืองอุดตันเกิดจากมีโปรตีนสะสมอยู่ใต้ผิวหนังเป็นจำนวนมาก ซึ่งโปรตีนเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารอย่างดีของเชื้อโรค เมื่อผิวหนังแห้งหรือมีรอยถลอก ปริ แตก เชื้อโรคก็สามารถแทรกเข้าไปเจริญเติบโตใต้ผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดแผลติดเชื้อ ผิวหนังแดง มีไข้ อาการเหล่านี้หากเกิดขึ้นก็จะทำให้ท่อน้ำเหลืองอุดตันมากขึ้น ก็ส่งผลให้บวมมากขึ้นอีก ดังนั้นการดูแลเรื่องผิดหนังที่บวมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
สิ่งที่ควรปฎิบัติคือ
ก) เมื่อมีรอยขีดข่วนจากของมีคม สัตว์ หรือแมลงกัดบริเวณผิวหนังที่บวม ควรได้รับการทายาฆ่าเชื้อตรงบริเวณแผลทันที
ข) ไม่ปล่อยให้ผิวหนังแห้งหรือแตก ผู้ป่วยควรทาครีมบำรุงเพื่อทำให้ผิวหนังเกิดความชุ่มชื้นอยู่เสมอ พึงระลึกเสมอว่าบริเวณซอกนิ้วหรือซอกเล็บต้องได้รับการเช็ดและดูแลให้แห้ง เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค
ค) ไม่ควรให้แขน หรือขาที่บวมนั้นสัมผัสแสงแดดและความร้อนโดยตรงเพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ง) ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ช่วงเวลาขณะที่ออกกำลังกายทุกครั้งผู้ป่วยควรใส่ถุงน่องหรือถุงแขนทุกครั้ง หากไม่มีถุงน่องหรือถุงแขนผู้ป่วยสามารถใช้ผ้าพันแทนได้ ถุงน่องหรือถุงแขนสำหรับโรคท่อน้ำเหลืองอุดตันจะต้องมีแรงรัดพอสมควร ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาล หรือร้านขายยาชั้นนำ
2. การนวด การนวดโดยนักกายภาพบำบัดที่ถูกต้องเป็นการบีบนวดเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนน้ำเหลืองให้ดีขึ้น จะลดการบวมจากท่อน้ำเหลืองได้
3. การใส่ถุงน่องหรือการรัดบริเวณบวม เป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยที่มีโรคนี้ วิธีนี้จะเป็นการรีดโปรตีนที่อยู่ใต้ผิวหนังให้ไหลกลับเข้าสู่ท่อน้ำเหลืองที่ยังเหลืออยู่กลับเข้าสู่หัวใจ ปัจจุบันมีวิวัฒน์การในการรักษาท่อน้ำเหลืองอุดตันโดยการใส่ปั๊มไฟฟ้าเฉพาะโรค ที่สามารถบีบรัดขาอย่างต่อเนื่องทำให้การไหลเวียนของน้ำเหลือมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. การผ่าตัดรักษาท่อน้ำเหลืองอุดตัน ซึ่งการรักษาผู้ป่วย สามารถทำการผ่าตัดโดยใส่ท่อพลาสติกเข้าไปตามแนวของท่อน้ำเหลือง ทำให้ระบบการไหลเวียนของท่อน้ำเหลืองดีขึ้น จนเกิดการไหลเวียนเป็นปรกติ เปรียบเทียบได้กับ การคมนาคมบนถนนหากถนนเส้นที่เราใช้เดินทางเป็นประจำนั้นเกิดการชำรุด เราสามารถสร้างเส้นทางใหม่ขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้เส้นทางเดิม
ภาพการฉีดสีท่อน้ำเหลือง ภาพซ้ายเป็นภาพก่อนผ่าตัดใส่ท่อ (ตรงลูกศรสีแดงจะเห็นว่าไม่มีสีดำ ท่อน้ำเหลือง)
ภาพขวาแสดงหลังการใส่ท่อ (ตรงลูกศรสีแดง จะเห็นแนวของท่อที่ใส่ระบายน้ำเหลืองได้เช่นเดียวกับขาอีกข้างซึ่งมีท่อน้ำเหลืองปกติ) และหลังผ่าตัดเส้นรอบวงบริเวณเหนือข้อเท้าลดจาก 45 เซนติเมตร มาเป็น 26 เซนติเมตร
โรคหลอดเลือดดำ เป็นโรคที่ผู้ป่วยและคนไทยมักจะ ไม่คุ้นเคยนัก โดยพื้นฐานแล้วเรามีเลือดไปเลี้ยงส่วน ต่างๆของร่างกายออกจากหัวใจ และหลอดเลือดที่ออก จากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายเรียกว่า “หลอดเลือดแดง” แต่หลอดเลือดที่นำเลือดจาก เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายกลับสู่หัวใจคือ “หลอดเลือด ดำ” ซึ่งหลอดเลือดดำที่ขามักมีปัญหามากที่สุดใน ร่างกาย เพราะขาอยู่ไกลจากหัวใจมากที่สุด ดังนั้นการ นำพาของเลือดดำกลับสู่หัวใจจึงทำได้ยาก ถ้ามีความ ผิดปกติจะเกิดปัญหาได้ง่าย โดยปกติแล้วเลือดจะ นำกลับสู่หัวใจได้โดยมีลิ้นบังคับทิศทางของเลือดอยู่ (รูปที่ 1) แต่บางครั้งถ้าการไหลเวียนของเลือดไม่ สะดวก เช่น การเกิดก่อนเลือดไปอุดตันในหลอดเลือด เลือดก็ไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก หรือถ้าลิ้นบังคับ ทิศทางของเลือดผิดปกติ จึงเปรียบเสมือนวาล์วน้ำใน ท่อน้ำประปาปิดไม่สนิทก็จะมีการรั่วของน้ำออกมาตาม ก๊อกน้ำต่างๆ เช่นเดียวกันกับหลอดเลือดดำ เมื่อลิ้นใน หลอดเลือดดำปิดไม่สนิทก็มีการรั่วของเลือดออกมาที่ บริเวณเท้าและขา ซึ่งอยู่ส่วนที่ต่ำที่สุดของร่างกาย
รูปที่ 1 แสดงทิศทางการไหลเวียนของโลหิตในหลอดเลือดดำ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดดำสามารถมี อาการแสดงได้หลากหลาย เช่น ถ้าผู้ป่วยมีโรคก้อนเลือดอุดตัน ในหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยจะมาด้วย อาการขาบวม (รูปที่ 2) ซึ่งอาการ ดังกล่าวอาจจะบวมอย่างฉับพลัน นำไปสู้การเน่าของขาหรือปอดได้ หรือถ้ามีลิ้นหลอดเลือดรั่วขนาดเล็กๆ ผู้ป่วยก็จะมีอาการเส้นเลือดฝอยแตกตามขา (รูปที่ 3)
![]() รูปที่ 2 แสดงอาการของผู้ป่วยขาบวมจากหลอดเลือด ดำอุดตันและส่งผลให้ขาเน่าเสีย |
![]() รูปที่ 3 แสดงลิ้นหลอดเลือดเสื่อมและเกิดหลอดเลือดฝอยตามขา |
![]() รูปที่ 4 แสดงเส้นเลือดขอด ของผู้ป่วยที่มีเส้นเลือด ขอดนาน 20 ปี ทั้ง 2 ขา |
![]() รูปที่ 5 แสดงผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดขอดมานานและไม่ได้ รับการรักษาเกิดอาการขาดำและบวม |
![]() |
การผ่าตัดประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ ขั้นแรกแพทย์จะลงแผลผ่าตัดบริเวณขาหนีบเพื่อไปตัดและผูกหลอดเลือดที่มีลิ้นหลอดเลือดรั่วกลับมาจากหลอดเลือดดำใหญ่ หลังจากนั้นแผลจะปิดก็อซด้วยไหมละลาย ขั้นที่สองแพทย์จะนำเอาหลอดเลือดดำที่ใต้ผิวหนังบริเวณขาออก โดยก่อนผ่าตัดแพทย์จะใช้ปากกาวาดตามแนวของหลอดเลือดขอด ซึ่งเส้นเลือดเหล่านี้จะถูกดึงออกทางหลอดเลือดขอด ซึ่งมีขนาดเท่าหัวเข็ม จึงไม่ต้องเย็บแผลใช้แค่ผ้าปิดแผลไว้ ขั้นตอนสุดท้ายของการผ่าตัดแพทย์จะพันขาของท่านให้กระชับเพื่อป้องกันการมีเลือดออกจากแผล |
ในขณะผ่าตัดจะได้รับการดูแลจากวิสัญญีแพทย์โดยจะได้รับดมยาสลบหรือยาฉีดเข้าทางไขสันหลัง ซึ่งจะช่วยระงับปวดในช่วงผ่าตัด บางครั้งผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการดมยาสลบได้แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์และวิสัญญีแพทย์อีกที ซึ่งคนส่วนใหญ่มักกลัวขั้นตอนนี้ แต่ปัจจุบันวิทยากรการรักษาได้ก้าวหน้ามากจึงมีความปลอดภัยมากขึ้น
ผู้ป่วยจะต้องนอนโรงพยาบาลหนึ่งวันก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดอีกหนึ่งคืน แต่ในกรณีที่ผ่าตัดสองขาหรือมีปัญหาโรคประจำตัวมากอาจต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่าหนึ่งคืน ทีมผู้รักษาที่ดูแล คือ แพทย์ วิสัญญีแพทย์ พยาบาล ในตอนแรก
จะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนผ่าตัด รวมทั้งวาดเส้นตามแนวเส้นเลือดขอดเพื่อเป็นประโยชน์ในขณะผ่าตัด
1. การเซ็นต์ใบยินยอมเพื่อการรักษาและการผ่าตัดโดยแพทย์จะอธิบายให้เข้าใจก่อนผ่าตัด
2. ต้องงดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด 6 ชั่วโมง โดยปกติจะงดหลังเที่ยงคืน เพื่อป้องกันการสำลักอาหารเข้าหลอดลม
3. เพื่อป้องกันการติดเชื้อจะต้องโกนขนบริเวณขาหนีบ
4. ต้องแจ้งประวัติรับประทานยาให้แพทย์ทราบเพื่อจะได้รับประทานยาได้ต่อเนื่อง ถ้ารับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดต้องแจ้งเช่นกันเพราะอาจเกิดก้อนเลือดในหลอดเลือดดำ และจะแนะนำให้ใช้วีอื่นในการคุมกำเนิดในช่วงหนึ่งเดือนก่อนผ่าตัด
1. หลังผ่าตัดมักมีอาการเจ็บสามารถขอยาแก้ปวดได้โดยมากมักปวดประมาณ 3 วัน หลังผ่าตัด
2. หลังผ่าตัดหนึ่งวันแพทย์จะเปลี่ยนผ้าปิดแผล ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนจะให้กลับบ้านได้
3. หลังผ่าตัดต้องออกกำลังกายขาโดยยกขึ้นลงเมื่อรู้สึกตัวเพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ
4. การดูแลแผลที่บ้านถ้าไม่ซึมไม่จำเป็นต้องทำแผล เพียงแต่รอวันนัดตรวจดังนั้น หลังผ่าตัดถ้ายังไม่ได้มาตรวจไม่ควรอาบน้ำให้เช็ดตัวหรือใส่ถุงพลาสติกที่ขาเวลาอาบน้ำ ถ้ามีเลือดออกให้กดบริเวณแผล 10 นาที ถ้าไม่หยุดให้กดไว้อีก 10 นาที ถ้ายังไม่หยุดให้รีบมาตรวจทันที
5.ต้องใส่ผ้าพันขาตลอด 7 วัน หลังผ่าตัดอาจเอาออกได้แต่ต้องยกขาสูง
6. ให้เริ่มเดินให้เร็วที่สุดหลังผ่าตัด ให้เดินบ่อยๆ อาจเดินสั้น ๆ ทุกครึ่งชั่วโมง หลีกเลี่ยงการยืนนิ่งๆ หรือนั่งห้อยขานาน ๆ ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด
7. ประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัดสามารถขับรถยนต์ได้
8. เมื่อร่างกายพร้อมสามารถออกกำลังกายหรือทำงานได้ตามปกติ แต่ถ้าทำงานที่ต้องยืนนานหรือขับรถมาก ควรหยุดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แต่ไม่ควรเกิน 3 สัปดาห์
1. เจ็บขาเป็นจุด ๆ ซึ่งอาการนี้จะหายไปใน3-4 สัปดาห์
2. มีก้อนเล็ก ๆ ที่ขากดเจ็บ ซึ่งสามารถสลายได้เอง แต่อาจทำให้เดินขัดได้
3. การติดเชื้อของแผลผ่าตัด
4. มีการสะสมของน้ำเหลืองที่ขาหนีบ
5. มีรอยแผลที่เห็นชัดในระยะแรกแต่จะค่อยๆจางหายไป
6. เส้นประสาทได้รับการกระทบกระเทือนเนื่องจากอยู่ใกล้เส้นเลือดดำ
7. การเกิดลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดดำ
8. ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ
หมายเหตุ บางรายหลังผ่าตัดอาจมีการกลับมาใหม่ของเส้นเลือดขอด มักเกิดจากเส้นเลือดที่เคยปกติในการผ่าตัดครั้งที่ผ่านมากลับมีปัญหา โดยทั่วไปสามารถฉีดยาหรือผ่าตัดได้อีก
ปัจจุบันมีการรักษาด้วยเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุ มาทดแทนการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ศึกษารายละเอียดได้ที่ www.legveinclinicthailand.com หรือสอบถามได้ที่คลินิก
![]() |
หลอดเลือดดำของคนเรามีสองส่วน คือ ส่วนตื้นและส่วนลึก หลอดเลือดดำส่วนลึกมี ความสำคัญมากเพราะเป็นตัวหลักในการนำเลือดดำ กลับเข้าสู่หัวใจโดยเฉพาะที่ขา การอุดตันดังกล่าวนี้ คือ การมีลิ่มเลือดไปอุดบริเวณหลอดเลือดดำทำให้ อุดตัน ส่งผลให้ขาบวม ปวด ถ้าไม่รักษาโอกาสที่ เกิดลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันเส้นเลือดที่ปอดและ หัวใจได้สูง และอาจเกิดอันตรายชีวิตถึงชีวิตได้
|
การดูแลสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวานเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดแผลที่เท้าได้ง่ายจากสาเหตุหลายประการ ประการสำคัญคือ เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ซึ่งเป็นผลมาจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่พอดี ทำให้ประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดและร้อนเย็นเสียไป บางรายอาจมีความรู้สึกชา ปวดแสบ ปวดร้อน หรือเจ็บที่เท้า ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้สังเกตว่า เท้ามีแผล ซึ่งอาจเกิดจากรองเท้าบีบเล็บขบ หรือเหยียบ ของมีคมต่างๆ เมื่อมีแผลแผลมักจะใหญ่ขึ้นและมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ซึ่งสามารถติดเชื้อรุนแรงจนเข้ากระแสโลหิตได้ นอกจากนั้นที่สำคัญผู้ป่วยเท้าเบาหวานบางรายอาจมีหลอดเลือดส่วนปลายเท้าตีบร่วมด้วย ส่งผลให้หากได้รับการรักษาไม่ถูกต้องจะทำให้แผลลุกลามจนต้องถูกตัดเท้าหรือขา
อะไรคือโรคขาขาดเลือดอย่างรุนแรง
โรคนี้เกิดจากการซึ่งเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณขา หรือแขนมีปริมาณลดลงอันเกิดจากการที่มีหลอดเลือดตีบตันซึ่งมักจะมาจากไขมันที่ทำให้หลอดเลือดตีบตัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดปลายเท้า นิ้วดำเน่า หรือมีแผลเรื้อรังที่เท้าแล้วไม่หายในบางรายอาจจะมีการปวดเวลานอนพัก อาการมักจะปวดที่บริเวณปลายนิ้ว
ภาพแสดงนิ้วเท้าดำเน่าที่นิ้วโป่งจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
สาเหตุของการขาดเลือดอย่างรุนแรง
โรคนี้เป็นโรคหลอดเลือดตีบตันในหลอดเลือดแดงส่วนมากมักจะเกิดในผู้ป่วยเบาหวานการอุดตันมักจะมีหลายๆ จุด การเกิดโรคดังกล่าวใช้เวลาในการพัฒนาการอย่างยาวนานกว่าจะมาถึงจุดที่ผู้ป่วยมีอาการ โดยระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการเดินแล้วเมื่อยน่อง เดินขึ้นที่สูงแล้วมีอาการปวดน่องมากขึ้น ถ้าไม่ได้รับการรักษา และอาการอาจจะแย่ลง ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บที่ปลายนิ้วเท้า นิ้วเท้าดำเน่า และถ้ายังมีอาการแย่ลงอีกก็จะมีอาการนิ้วเท้าดำเน่าเป็นแผลเรื้อรังไม่หาย
การรักษาทำเช่นไร
ในผู้ป่วยที่มีเพียงอาการขาขาดเลือดแบบเดินแล้วเมื่อยน่อง ผู้ป่วยเหล่านี้การรักษาส่วนมากต้องการเพียงรักษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีคราบไขมันพอกอยู่ที่หลอดเลือด เช่น หยุดการสูบบุหรี่หรือรับควันบุหรี่จากคนอื่น ลออาหารที่หวาน ลดไขมันสูงในเลือด ลดความดันโลหิต ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการขาขาดเลือดแบบปวดที่ปลายนิ้วเท้าเวลานอน มีแผลเรื้อรังหรือนิ้วเท้าดำเน่า การรักษาที่ดีที่สุดในกรณีนี้ คือ เพิ่มเลือดไปเลี้ยงที่ขามีอยู่ 2 วิธี หนึ่งคือการทำเลือดลัดมาเลี้ยงขา ในการผ่าตัดเหมือนการตัดถนน เลี่ยงเมือง ที่เมื่อเมืองมีรถติดมากจะขยายก็ไม่ได้ ก็ทำถนนเลี่ยงเมือง หรือที่เราเรียกกันว่า Bypass หรืออีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นวิธีใหม่ซึ่งใช้ในกรณีที่หลอดเลือดมีการตีบระยะสั้นๆ อาจจะใช้ลูกบอลลูนไปถ่างขยายจุดที่ตีบนั้นได้ เราเรียกว่า การขยายโดยลูกบอลลูนซึ่งวิธีดังกล่าวก็มีการเจ็บตัวน้อยเพียงฉีดยาชาก็ทำได้ แต่จะเหมาะเฉพาะในกรณีที่มีหลอดเลือดตีบตันในบริเวณเล็กๆ
ภาพฉีดสีหลอดเลือด
ภาพซ้ายแสดงหลอดเลือดที่ขาตีบสั้นๆ
จึงได้ทำการถ่างขยายโดยใช้ลูกบอลลูน หลอดเลือดจึงเปิดดังภาพขวา
ควรไปปรึกษาแพทย์ท่านใด
ถ้าท่านมีอาการดังกล่าวควรจะไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเฉพาะหมอทางด้านหลอดเลือด เช่น ศัลยแพทย์หลอดเลือด หมอผ่าตัดศัลยแพทย์ หรือหมออายุรกรรมที่เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดและหัวใจ
![]() |
โรคนี้จำเป็นที่จะต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
1. แพทย์จะอธิบายถึงโรค ,การรักษา และการผ่าตัด โดยก่อนทำการผ่าตัด |
1. ท่านสามารถออกกำลังกายได้ โดยจะมีทีมนักกายภาพบำบัดมาให้คำแนะนำ
2. ภายหลังการผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น เท้าข้างที่ ผ่าตัดเย็นลง ปวดแผลผ่าตัด การเกิดลิ่มเลือดที่ขาได้ ดังนั้นท่านสามารถป้องกันโดยเมื่อรู้สึกตัว และเอาท้อ ช่วยหายใจออกควรพลิกตะแคงตัว ออกกำลังกายและไอ อย่างมีประสิทธิภาพตามคำแนะนำของนัก กายภาพบำบัดและพยาบาล
3. ถ้ามีอาการปวดแผลมาก ควรแจ้งพยาบาลเพื่อจะได้รับยาแก้ปวด
4. ในกรณีต้องการใบรับรองแพทย์ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เมื่อแพทย์อนุญาตกลับบ้านได้
โรคหลอดเลือดโป่งพองที่ท้อง
โรคนี้คืออะไร
ปกติหลอดเลือดแดงจะนำเลือดจากหัวใจสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย หลอดเลือดโป่งพองเกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดแดงเหล่านี้มีการอ่อนตัวลงความดันที่วิ่งอยู่ในหลอดเลือดจึงดันให้หลอดเลือดโป่งออกมาเหมือนลูกโป่ง หลอดเลือดที่มีการโป่งบ่อยที่สุดคือหลอดเลือดแดงใหญ่ที่อยู่ในท้องหรือที่เรียกว่า Aorta ซึ่งเป็นหลอดเลือดหลักในท้องของเราเรียกว่าเลี้ยงล่างกายท่อนล่างของเราทั้งหมดโดยชื่อที่เป็นทางการของโรคนี้ชื่อ Abdominal Aortic Aneurysm (AAA)
ภาพแสดงหลอดเลือดแดงโป่งพองในท้อง
วัดความกว่างได้กว่า 10 เซนติเมตร
อาการเป็นเช่นใด
ผู้ป่วยสามารถมีอาการปวดท้อง คลำก้อนเต้นได้ในท้อง ปวดท้อง อาจจะถ่ายเป็นเลือด หรือถ้าหลอดเลือดโป่งพองนี้แตกก็อาจมีการเสียเลือดอย่างมาก หน้ามืดเป็นลม ช็อค อาจจะเสียชีวิตได้
การรักษา
การรักษาสามารถทำได้โดยการเปิดท้อง และเข้าไปตัดบริเวณหลอดเลือดที่โป่งพองนั้นแล้วทดแทนด้วยหลอดเลือดพลาสติกเทียมเข้าไป ซึ่งการผ่าตัดนี้ถือว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่มีความเสี่ยงมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตามถ้าผู้ป่วยรอดพ้นจากการผ่าตัดก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และมักจะอยู่ได้โดยไม่มีปัญหาอีกนานสำหรับหลอดเลือดที่ใส่ไว้ แต่ในปัจจุบันมีวิธีอีกวิธีหนึ่งในการรักษาโดยการใส่สายหลอดเลือดพลาสติกที่ขาหนีบเข้าไปทดแทนหลอดเลือดที่โป่งพอง โดยไม่ต้องเปิดท้องซึ่งการผ่าตัดดังกล่าวสามารถเลือกได้ในเฉพาะผู้ป่วยบางคนที่กายวิภาคของหลอดเลือดไม่ได้มีลักษณะบิด ขด งอมาก
ภาพการรักษาโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง
โดยใส่หลอดเลือดพลาสติกจากขาหนีบโดยที่ไม่ผ่าตัดเปิดท้อง
เมื่อไหร่จะผ่าตัด
มักจะผ่าตัดเมื่อผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการแตกของหลอดเลือด ผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว เช่น ผู้ป่วยมีการปวดท้องมาก หรือผู้ป่วยมีอาการแตกของหลอดเลือดแล้ว หรือในกรณีที่ไม่แตก และไม่มีอาการแต่คลำก้อนเต้นได้ในท้องเราจะถือขนาดมากกว่า 5.5 เซนติเมตร สมควรที่จะต้องผ่า
ควรไปปรึกษาแพทย์ท่านใด
แพทย์ที่ทำการรักษาโรคนี้จะเป็นศัลยแพทย์หลอดเลือดหรือที่รู้จักว่าเป็น Vascular Surgeon หรือหมอผ่าตัดหัวใจ ท่านควรไปปรึกษาแพทย์ถ้าสงสัยว่ามีอาการดังกล่าว
![]() |
1. แพทย์จะอธิบายถึงโรค การรักษา และการผ่าตัด โดยก่อนทำการผ่าตัด ท่านต้องเซ็นต์ใบยินยอมผ่าตัด และยินยอมรับเลือด |
การผ่าตัดจำเป็นต้องใช้เลือดจำนวนมากควรนำญาติมาบริจาคเลือดตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป โดยให้ติดต่อที่หอผู้ป่วย เพื่อส่งไปบริจาคยังธนาคารเลือด
1. วันก่อนผ่าตัดให้ทำความสะอาดร่างกาย สระผม ตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อโรค ห้ามทาสีเล็บ(ถ้ามีดังต่อนี้ เช่น ประจําเดือน,ไข้หวัด แจ้งให้แพทย์ทราบด้วย)
2. ได้รับการตรวจเยี่ยมและคำแนะนำจากพยาบาลห้อง ผ่าตัดและแพทย์ดมยาสลบ จะมาเยี่ยมและประเมิน อาการเพื่อดูแลในห้องผ่าตัดได้ถูกต้อง
3. ท่านจะได้รับคำแนะนำจากพยาบาลประจำหอผู้ป่วย เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด
4. ท่านจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายก่อน และหลังผ่าตัดจานักกายภาพบำบัด
5. เวลาประมาณ 20.00 น. ท่านจะได้รับยาคลายเครียดซึ่ง ทำให้รู้สึกง่วงนอน ท่านต้องพักที่เตียงระมัดระวังเกิดอุบัติเหตุ
6. ท่านต้องงดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน
7. ถ้าท่านมีประวัติโรคประจำตัวอื่น เช่น เบาหวาน หัวใจ จะมีแพทย์เฉพาะทางมาตรวจเยี่ยมและประเมิน อาการก่อนผ่าตัด
1. หลังจากได้รับการตรวจวัดสัญญาณชีพ แล้วควร อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายอีกครั้งและเปลี่ยน เสื้อผ่าชุดใหม่ไม่สวมชุดชั้นในหรือเครื่องประดับ ใดๆ ควรให้ญาติเก็บเพราะอาจสูญหายได้
2. ท่านต้องงดน้ำและอาหารทุกชนิดทางปากจนกว่า จะได้รับการผ่าตัดและท่านจะได้รับการใส่น้ำเกลือ และยาคลายเครียดอีกครั้งก่อนผ่าตัดโดยให้ดื่มน้ำตามประมาณ 30 ซีซี
3. ก่อนเข้าห้องผ่าตัดท่านจะได้รับการเตรียมบริเวณ ผ่าตัดโดยการทำความสะอาดด้วยการทาน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนังตั้งแต่บริเวณใต้ราวนมจนถึง ต้นขาเพื่อลดเชื้อโรค โดยเจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วย
4. ปัสสาวะก่อน ไปห้องผ่าตัด
5. เมื่อถึงเวลาผ่าตัดเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดจะนำเปลมา รับเข้าห้องผ่าตัด
6. ขณะผ่าตัดท่านจะได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ ผ่าตัด,พยาบาลและวิสัญญีแพทย์,วิสัญญีพยาบาล อย่างใกล้ชิด ใช้เวลาผ่าตัดอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
7. เมื่อผ่าตัดเสร็จท่านจะได้รับการดูแลที่ห้องพักฟื้น 2 ชั่วโมง จากนั้นต้องได้รับการดูแลต่อที่ตึกศัลยกรรม ผู้ป่วยหนักทั่วไป ถ้าอาการปกติดีจึงย้ายขึ้นตึกผู้ป่วยเดิม
1. ท่านสามารถออกกำลังกายได้ โดยจะมีทีมนักกายภาพบำบัดมาให้คำแนะนำ
2. ภายหลังการผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ท้องอืด ปวดบวมเฉพาะที่ ปวดแผลผ่าตัด การเกิด ลิ่มเลือดที่ขาได้ ดังนั้น ท่านสามารถป้องกันโดยเมื่อ รู้สึกตัว และเอาท่อช่วยหายใจออกควรพลิกตะแคง ตัว ออกกำลังกายและไออย่างมีประสิทธิภาพตาม คำแนะนำของนักกายภาพบำบัดและพยาบาล
3. ขณะเคลื่อนไหวควรใช้มือประคองแผลเพื่อช่วยลดอาการปวด ถ้ามีอาการปวดแผลมาก ควรแจ้งพยาบาลเพื่อจะได้รับยาแก้ปวด
4. ในกรณีต้องการใบรับรองแพทย์ควรแจ้งให้แพทย์ ทราบเมื่อแพทย์อนุญาตกลับบ้านได้
โดยปกติถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ท่านจะได้นอน โรงพยาบาลไม่เกิน 10 วัน จากนั้นแพทย์จะให้กลับบ้าน ได้ เมื่อกลับบ้านท่านต้องปฏิบัติตัวดังนี้
1. ห้ามแกะเกาแผล
2. ให้เดินหรือออกกำลังกายเพิ่มขึ้นที่บ้านแต่ 4 สัปดาห์หลังผ่าตัดไม่ควรยกของหนัก, 6 สัปดาห์ หลังผ่าตัดไม่ควรออกกำลังกายที่หดเกร็งหน้าท้อง
3. มาตรวจตามแพทย์นัดและตัดไหม คือประมาณ 2 สัปดาห์หลังจำหน่ายและรับประทานยาตามแพทย์ สั่งอย่างเคร่งครัด
4. สังเกตอาการผิดปกติ ,ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้
- แผลแยก บวม แดงร้อน มีหนอง
- มีเลือดออกจากแผลผ่าตัด – รับประทานอาหารไม่ได้หรือได้น้อย
- มีถ่ายเป็นเลือด/ถ่ายดำ
5. ท่านต้องติดต่อกลับมายังหอผู้ป่วยที่จำหน่ายภายในวันที่ 15 หลังผ่าตัด เพื่อแจ้งอาการของท่านข้อ 4.แต่ถ้ามี อาการผิดปกติก่อน ท่านสามารถโทรแจ้ง หรือ มาตรวจก่อนวันนัดได้ตึกผู้ป่วยที่ท่านจำหน่ายหรือที่คลินิก